การเปลี่ยนแปลงของสีปัสสาวะ
สีใส : ปัสสาวะใสบ่งบอกถึงการเจือจาง นี่อาจเป็นรูปแบบที่ปกติเมื่อร่างกายดื่มน้ำน้ำอย่างเพียงพอ แต่เมื่อมีการปัสสาวะมากเกินไป อาจเป็นสัญญาณของอาการที่ร่างกายสูญเสียการความคุมของน้ำได้ เช่น โรคเบาจืด หรืออาจเป็นผลข้างเคียงที่คาดว่าจะได้รับจากยาขับปัสสาวะอื่นๆ เช่น สารคาเฟอีน
สีเหลืองเหมือนฟางข้าว : นี่ถือเป็นสีปกติของปัสสาวะ สีเหลืองเป็นผลมาจากสารที่ชื่อ Urobilin จำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการสลายของเซลล์เม็ดเลือดเก่าทำให้เกิดสีแบบนี้
สีส้ม: ร่างกายจะขับปัสสาวะออกมาเป็นสีเหลืองเข้ม สีส้ม หรือสีน้ำตาลก็ต่อเมื่อร่างกายขาดน้ำ นี่เป็นผลมาจากการดื่มน้ำที่ไม่สัมพันธ์กับของเหลวที่ร่างกายสูญเสียไป (โดยปกติแล้วจะขับออกทางเหงื่อ อาการการท้องร่วง อาเจียน หรือปัสสาวะ) โดยจะสังเกตเห็นได้บ่อยครั้งหลังจากทำกิจกรรมที่หนักๆ ซึ่งของเหลวที่สูญเสียไปจากเหงื่อมักจะไม่ได้ถูกทดแทนที่ด้วยการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
สีน้ำตาล: ปัสสาวะอาจถูกย้อมด้วยสารที่สลายตัวจากเซลล์เม็ดเลือดเก่าที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งมักจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี่:
- การสลายตัวของเลือดเพิ่มขึ้น : เช่น โรคเลือดที่มีการทำลายของเม็ดเลือดแดง เมื่อมี บิลิรูบิน ( bilirubin) ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกาย หลั่งเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น
- การผลิตบิลิรูบินที่ลดต่ำลง : เช่น การอักเสบของตับ เนื่องจากการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบซี
สีแดง: อาจเป็นตัวแทนของเลือดในปัสสาวะ (เช่น จากการติดเชื้อ นิ่วในไต เนื้องอก) หรือรอยเปื้อนสีแดงจากอาหาร (เช่น บีทรูท) หรือยา (เช่น ไรแฟมพิซิน (Rifampicin))
สีน้ำเงิน/เขียว: มาจากสารเพื่อเสริมความคมชัดของปัสสาวะเพื่อใช้ในการสแกนทางการแพทย์บางอย่าง และอาจทำให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำเงิน/เขียวชั่วคราว บางรายอาจมีอาการผิดปกติแบบอื่นๆ เช่น โรคทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง” (Familial Hypercalcemia) (หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อาการผ้าอ้อมสีน้ำเงิน”) และการติดเชื้อในปัสสาวะซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย Pseudomonas
สีโคล่า: ปัสสาวะสีน้ำตาล/ดำ แสดงว่ามีไมโอโกลบินปรากฏอยู่ในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสารที่ปกติจะพบอย่างหนาแน่นในเซลล์กล้ามเนื้อเพื่อใช้ในการสำรองออกซิเจน และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย โดยกระบวนการที่เรียกว่า “Rhabdomyolysis” หรือ “ภาวะกล้ามเนื้อสลาย”
สรุปแล้ว
มีหลายสิ่งที่คุณสามารถตรวจสอบสุขภาพได้จากลักษณะของปัสสาวะ ซึ่งข้อดีของการเข้าใจสีของปัสสสาวะ ทำให้เราวินิจฉัยอาการหรือสุขภาพเบื้องต้นของเราได้ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีความสำคัญในการตีความสิ่งต่างๆที่คุณเห็น ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติของสีปัสสาวะ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วจะดีที่สุด
แปลและเรียบเรียงโดย : UltraMiles
ที่มา : https://artibiotics.com/blog/how-to-read-urine-colour
https://www.healthline.com/health/dark-urine#outside-factors